วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

HTML

HTML

1.HTML ย่อมาจาก  Hypertext Markup Language
 หมายถึง ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล
2.รูปแบบการใช้คำสั่ง 


<font size = "3"> ข้อความ </font>    ขนาดตัวอักษร

<font color = "red"> ข้อความ </font>    สีตัวอักษร

<font face = "Arial"> ข้อความ </font>      รูปแบบตัวอักษร

<besefont size = "2"> ข้อความ </font> กำหนดค่าเริ่มต้นของขนาดตัวอักษร

<b> ข้อความ </b>
ตัวอักษรหนา

<i> ข้อความ </i>
ตัวอักษรเอน

<u> ข้อความ </u>
ขีดเส้นใต้ตัวอักษร

<tt> ข้อความ </tt>
ตัวอักษรแบบพิมพ์ดีด

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 5 เรื่อง ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์

1.ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร?
ตอบ ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้

2.ภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับ? อะไรบ้าง?
ตอบ มี3ระดับ ได้แก่

1.ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ได้แก่1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาระดับต่ำที่สุดเพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล (0และ1)และคำสั่งต่างๆทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก
ตัวอย่างที่ 1 แสดงคำสั่งของภาษาเครื่องมีดังนี้

ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง 9 + 3 แสดงได้ดังนี้

การบวกแทนด้วยรหัส 10101010

เลข 9 เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง 00001001

เลข 3 เปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง 00000011

ดังนั้น คำสั่ง 9 + 3 เขียนเป็นภาษาเครื่องได้ดังนี้

00001001 10101010 00000011 ---------> ภาษาเครื่อง

9 + 3 --------> ภาษามนุษย์และภาษาคอมพิวเตอร์

1.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น คือ ใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้นๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าภาษาเครื่อง แต่ก็ยังคงยุ่งยากมากในการจำคำสั่งทั้งหมด

ตัวอย่างที่ 2 แสดงค่าสั่งของภาษาแอสเซมบลีมีดังนี้

ถ้าเราต้องการสั่งให้เครื่องท่างานตามค่าสั่ง 9 + 3 แสดงได้ดังนี้

MOV AX, 9

MOV BX, 3

ADD AX, BX

2.ภาษาระดับกลาง (Medium Level Language)

เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะมีลักษณะ เป็นภาษาแบบโครงสร้าง ทำความเข้าใจได้เหมือนกับภาษาระดับสูงแต่ทำงานได้รวดเร็ว
เหมือนกับภาษาระดับต่ำ สามารถใช้บนเครื่องที่มีความเร็วต่างกันโดยไม่ต้องดัดแปลง ภาษาระดับกลางจึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ตัวอย่างของภาษาระดับกลาง ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) 
ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น





3.ภาษาระดับสูง (High Level Language)

เป็นภาษาที่ทำความเข้าใจได้ง่าย มีลักษณะของการใช้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลความหมายของคำสั่งโดยใช้ตัวแปลภาษาทีละชุดคำสั่งที่เรียกว่า Interpreter หรือแปลครั้งเดียวทั้งโปรแกรมที่เรียกว่า Compiler

3.ตัวแปลภาษา
ตอบ ได้แก่

♦ แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง

 ♦ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมกับงานตามคำสั่งทีละบรรทัดตลอดทั้งโปรแกรมทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายและรวดเร็ว
แต่ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลโดยการใช้อินเตอร์พรีเตอร์นั้นไม่สามารถเก็บไว้ใช้ใหม่ได้จะจะต้องแปลโปรแกรมใหม่ทุกครั้งที่ต้องการใช้งาน
♦ คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ ออบเจคโคดที่ได้จากการแปลนั้นสามารถจัดเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูล เพื่อให้นำไปใช้ในการทำงานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีของคอมไพเลอร์ที่จะนำผลที่ได้จากการแปลนั้นไปใช้งานกี่ครั้งก็ได้ไม่จำกัด ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลใหม่ทุกครั้ง ทำให้เป็นรูปแบบการแปลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

ในปัจจุบัน มีหลักการแปลภาษาคอมพิวเตอร์แบบใหม่เกิดขึ้น คือแปลจากซอร์สโคดไปเป็นรหัสชั่วคราวหรืออินเทอมีเดียตโคด (Intermediate code)ซึ่งสามารถนำไปทำงานได้ด้วยการใช้โปรแกรมในการอ่านและทำงานตามรหัสชั่วคราวนั้นโดยโปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับ
อินเทอพรีเตอร์ แต่จะทำงานได้เร็วกว่าเนื่องจากรหัสชั่วคราวจะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก มีข้อดีคือสามารถนำรหัสชั่วคราวนั้นไปใช้ได้กับทุก ๆ เครื่องที่มีโปรแกรมตีความได้ทันที

อ้างอิง

http://cprogramcode.weebly.com/361636343625363435883629361736143636362336483605362936193660.html

ใบงานที่ 4 เรื่อง โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

1.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร

ตอบ  คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม"

2.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ มี3ประเภท ได้แก่ 
      
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS) หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ ตัวอย่างเช่น Windows 7 ,Windows Vista , Windows XP เป็นต้น

     
 









2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์(Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนขึ้นมาใช้เองเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์ เช่น
โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ไฟร์ฟอกซ์ ไฟล์ซิลลา
โปรแกรมเล่นเพลง เช่น วินแอมป์ วินโดวส์มีเดียเพลเยอร์ ไอทูนส์
โปรแกรมสำนักงาน เช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ โอเพนออฟฟิศ
โปรแกรมอื่น ๆ เช่น ออโตแคด ไมโครสเตชัน
      

3.โปรแกรมเอนกประสงค์ (Utility Software) จะเป็นพวกเครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาของระบบ โปรแกรมอเนกประสงค์ คือโปรแกรมตัวเล็ก ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านไปอย่าง โปรแกรมบีบอัดไฟล์ Winzip, Winrar หรือ โปรแกรมดูภาพจำพวก ACDsee โปรแกรม MS Word สำหรับการพิมพ์งานเอกสารรูปแบบต่างๆ, โปรแกรม MS Excel สำหรับการทำเอกสารที่เป็นแบบฟอร์ม กราฟ หรือการเก็บข้อมูล และโปรแกรม MS PowerPoint สำหรับการทำไฟล์นำเสนองาน (Presentation) ระบบปฏิบัติการ จำเป็นที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะต้องมี เพื่อทำให้เราใช้งานโปรแกรมต่างๆจากอุปกรณ์ชนิดนั้นๆ ได้อย่าง PC, Notebook, Netbook ก็จะมี Windows เป็นระบบปฏิบัติการ










วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 3 เรื่อง การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

1.การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)


ตอบ เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัดสื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudo code และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง นิยมใช้ pseudo code แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ
ตัวอย่าง 
Algorithm Problem_1

Variables : mLoop, Sum, testScore, average
Begin
Input mLoop
Sum = 0
For I = 1 to mLoop
Input testScore
Sum = Sum + testScore
Next
average = Sum / mLoop
Print average


การเขียนผังงาน
(Flowchart)

1.ความหมายของการเขียนผังงาน

ตอบแผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร


2.สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน

ตอบ










3.ตัวอย่าง 1 ตัวอย่าง 
ตอบ 
อ้างอิง : 






วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

 การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

มี 4 ขั้นตอน

 1.การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  

เป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจกับปัญหา  เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนโดยใช้คำถามต่อไปนี้
ข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไรเพื่อระบุข้อมูลเข้า/สิ่งที่ต้องการคืออะไรเพื่อระบุข้อมูลออก
/วิธีการที่ใช้ประมวลผลคืออะไรเพื่อกำหนดวิธีการประมวลผล



2. การวางแผนในการแก้ปัญหาและถ่ายทอดความคิดอย่างมีขั้นตอน  

เป็นขั้นตอนการจำลองความคิดในการแก้ปัญหาที่ยุ่งยาก
ซับซ้อนโดยผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาสามารถเข้าใจและปฎิบัติตามไปในแนวทางเดียวกัน



3.การดำเนินการแก้ปัญหา  

เป็นขั้นตอนการลงมือแก้ปัญหาตามที่วางแผนไว้  โดยอาศัยซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือใช้การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา  ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาวิธีใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจและเชี่ยวชาญตลอดจนรู้จักปรับเปลี่ยนแนวทางการแก้ปัญหาที่ดีกว่าเสมอ



4.การตรวจสอบและปรับปรุง  

เป็นขั้นตอนการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินการแก้ปัญหาว่าถูกต้องสอดคล้องกับข้อมูลเข้า  ข้อมูลออก  และวิธีการประมวลผลหรือไม่  ถ้ายังพบข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


แหล่งอ้างอิง : 








My Profile


My Profile



My name : Phetrada Yaisamlee 
My nickname : Yeen
Date of Birth : 24July2001
Age : 16years old
Mobile number : 096-262-0157
Special ability : speak chinese
My favorite food : grilled prawns
My favorite color : blue
My favorite subject : chinese and social
Hate : tomato sauce ,chili sauce and mayonnaise sauce


วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ 1 เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหมายและขั้นตอนของการแก้ปัญหา
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
คือ  ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.

ขั้นตอนการแก้ปัญหา 4 ขั้นตอน

     1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
     2. การวางแผนในการแก้ปัญหา
     3. การดำเนินการแก้ไขปัญหา
     4. การตรวจสอบและปรับปรุง

2.ยกตัวอย่างปัญหา 1 ปัญหา พร้อมวิธีการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน



  • ปัญหา   เป็นคนที่กินข้าวไม่ตรงเวลา
  • วิธีการแก้ปัญหา 1.แบ่งเวลาให้ถูกต้อง
  •                            2.ตั้งนาฬิกาปลุกเตือนให้กินข้าว

  • อ้างอิง
  • http://robotm1.weebly.com/358636333657360936053629360935853634361936493585365736113633359736273634-4-3586363336573609360536293609.html






  • course outline

    http://www.acr.ac.th/acr/CourseOutline/M/pdf/M5/Computer(T).pdf

    ใบงานที่ 1 เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ (Computer Project)

    ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ 1.โครงงานหมายถึงอะไร                   โครงงานเป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่...